วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ถ้าไม่คิดให้กำลังใจ.. ขออย่าซ้ำเติม..จะได้มั๊ย???

คุณเคยทำผิดไหม ?..
ชื่อ:  image001.gif
ครั้ง: 609
ขนาด:  21.2 กิโลไบต์ชื่อ:  image002.gif
ครั้ง: 598
ขนาด:  38.0 กิโลไบต์

ชื่อ:  image003.gif
ครั้ง: 591
ขนาด:  27.0 กิโลไบต์

ชื่อ:  image004.gif
ครั้ง: 589
ขนาด:  21.3 กิโลไบต์

ชื่อ:  image005.gif
ครั้ง: 588
ขนาด:  20.6 กิโลไบต์

ชื่อ:  image006.gif
ครั้ง: 588
ขนาด:  17.3 กิโลไบต์

แนวปฏิบัติการกรอกสมุดบันทึกการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน(ปพ.5)

แนวปฏิบัติการกรอกสมุดบันทึกการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน(ปพ.5)
ส่วนปก
                - การกรอกข้อมูลทั้งหมดให้ใช้ปากกาสีดำ หรือสีน้ำเงิน สีใดสีหนึ่ง เท่านั้น
                - กรอกข้อมูลพื้นฐานปกหน้า  ใช้คำเต็ม  ไม่ใช้คำย่อ  ใช้ตัวเลขอารบิก
                - เวลาเรียนแต่ละวิชา  40 ชั่วโมง : จำนวนน้ำหนัก 1 หน่วยกิต
                - คำนำหน้าชื่อครูผู้สอน/ครูที่ปรึกษา  ให้ ใช้คำเต็ม เช่น นางสาว
การบันทึกเวลาเรียน
                - การกรอกตัวเลข  ให้ใช้เลขอารบิค
                - คำนำหน้าชื่อนักเรียน  ให้ใช้คำเต็ม เช่น เด็กชาย  เด็กหญิง
                - กรอกวันที่เข้าสอนในช่องวันของแต่ละสัปดาห์  และกรอกชั่วโมงที่เข้าสอน  การกรอกชั่วโมงที่เข้าสอนให้
                กรอกเรียงไปจนครบจำนวนชั่วโมงทั้งหมดของรายวิชา
                - กรณีการสอนเกิน 1 ชั่งโมงต่อวัน เช่น 2 ชั่วโมง ให้กรอกดังนี้  1-2  ,  3-4  เป็นต้น
                - กรณีนักเรียนมาเรียน ให้ทำเครื่องหมาย / เต็มช่อง c ด้วยปากกาสีดำ หรือสีน้ำเงิน สีใดสีหนึ่ง เท่านั้น
       - กรณีนักเรียนขาดเรียน  ให้ทำเครื่องหมาย 0 เต็มช่อง c ด้วยปากกาสีแดง และเขียนระบุการขาดเรียนของ
                นักเรียนด้วยตัวอักษร    กลางเครื่องหมาย 0 ด้วยปากกาสีดำ หรือสีน้ำเงิน
- การบันทึกว่าเป็นวันหยุด  ให้ขีดยาวตรงกลางช่องตั้งแต่แนวชื่อนักเรียนเลขที่ 1 ถึงเลขที่สุดท้ายด้วยปากกาสี
   แดง  อนึ่ง การขีดเส้นดังกล่าวนั้น ให้เว้นตรงกลางพอประมาณ  เพื่อเขียนบันทึกว่าเป็นวันหยุดใด เช่น หยุด
   วันขึ้นปีใหม่
- หากมีการบันทึกว่าเป็นวันหยุด  ให้ครูผู้สอนหาเวลาเพื่อสอนชดเชย และบันทึกเวลาเรียนของการสอนชดเชย
   ดังกล่าวด้วย  การสอนชดเชยให้ครูผู้สอนนัดนักเรียนเพื่อเรียนชดเชยในชั่วโมงว่าง  ช่วงพักกลางวัน  หลังเลิก
   เรียน หรือให้งานนักเรียนและนับเป็นชั่งโมงเรียน
- กรณีการบันทึกเวลาเรียนชดเชย  ให้บันทึกการมาเรียนและขาดเรียนของนักเรียนตามปกติ  และเขียนระบุการ
  บันทึกเวลาเรียนชดเชยวันดังกล่าวไว้ข้างล่าง เช่น ชดเชยวันขึ้นปีใหม่
- การบันทึกเวลาเรียนกรณีนักเรียนย้าย  ให้ใช้ปากกาสีแดงขีดยาวจากวันสุดท้ายที่นักเรียนมาเรียนจนถึงช่อง
  บันทึกเวลาเรียนสุดท้าย  พร้อมเขียนระบุหมายเหตุด้วยปากกาสีดำ หรือสีน้ำเงิน เช่น จำหน่าย(ย้าย)
- ให้บันทึกการเวลาเรียนรวมแต่ละภาคเรียน  เวลาเรียนตลอดทั้งปี  และคิดเป็นร้อยละของเวลาเรียนทั้งหมด
การบันทึกผลการประเมินตัวชี้วัด
                - กรอกมาตรฐานและตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนเรียงลำดับจากน้อยไปหามากด้วยรูปย่อ เช่น
                1.1 ป.1/1  ,  1.1 ป.1/2  เป็นต้น
                - บันทึกคะแนนต็มและคะแนนที่ประเมินได้ของแต่ละตัวชี้วัดและสรุปผลการประเมินว่า ผ่าน หรือไม่ผ่าน โดย
                ทำเครื่องหมาย P ลงในช่องที่กำหนด
                - กรณีที่นักเรียนประเมินไม่ผ่านตัวชี้วัดใดตัวชี้วัดหนึ่ง  นักเรียนสามารถขอแก้ผลการประเมินดังกล่าว โดยครูผู้สอนอาจต้องสอนซ่อมเสริมและให้นักเรียนประเมินใหม่  และให้บันทึกผลคะแนนที่นักเรียนได้จริง

                - กรณีนักเรียนได้รับการประเมินผ่านตัวชี้วัดใดตัวชี้วัดหนึ่งแล้ว  แต่ต้องการพัฒนาผลการเรียนรู้ของตนเอง 
                นักเรียนสามารถขอรับการประเมินใหม่  และให้ครูผู้สอนบันทึกคะแนนใหม่ที่ได้มากกว่าเดิม
                - ให้รวมตัวชี้วัดที่กำหนดตามกลุ่มสาระการเรียนรู้  และรวมตัวชี้วัดที่นักเรียนผ่าน ลงในช่องที่กำหนด 
                - ให้สรุปผลการประเมินตัวชี้วัดว่า ผ่าน หรือไม่ผ่าน ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด  โดยทำเครื่องหมาย P ลงใน
                ช่องที่กำหนด ( เกณฑ์การผ่านการประเมินตัวชี้วัด : นักเรียนต้องผ่านการประเมินตัวชี้วัดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
การบันทึกคะแนนแต่ละภาคเรียน
                - ให้บันทึกคะแนนระหว่างภาคในแต่ละภาคเรียน โดยคิดจากคะแนนที่นักเรียนประเมินตามตัวชี้วัดได้ในภาคเรียนนั้นในสัดส่วนที่โรงเรียนกำหนด 
                - ให้บันทึกคะแนนปลายภาคในแต่ละภาคเรียน โดยคิดจากคะแนนที่นักเรียนประเมินได้ในภาคเรียนนั้นในสัดส่วนที่โรงเรียนกำหนด 
                - ให้บันทึกคะแนนรวมแต่ละภาคเรียน โดยการรวมคะแนนระหว่างภาคและคะแนนปลายภาค
การบันทึกผลการเรียนรู้รายปี
                - ให้รวมคะแนนแต่ละภาคเรียน และบันทึกลงในช่องผลการเรียนรู้รายปี  พร้อมแปลงเป็นระดับผลการเรียนรู้
                 ตามที่โรงเรียนกำหนด
                - ให้สรุปผลการประเมินว่าผ่าน หรือไม่ผ่าน ลงในช่องสรุปผลการประเมิน ( นักเรียนต้องได้ระดับผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 1 จึงจะถือว่า ผ่านการประเมินรายวิชา )